วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย

ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย
เรื่องที่ 1.1 ความหมายของกฎหมาย
กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง 2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม 3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป 4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
เรื่องที่ 1.2 ทฤษฎีของกฎหมาย
จากการศึกษาทฤษฎีกฎหมายจากทฤษฎีของนักกฎหมายหลายท่าน มีข้อที่แตกต่างและคล้ายคลึง พอจะสรุปผลให้เห็นได้ 2 แนวคิด ดังนี้ 1. กฎหมายนั้นมีหรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กฎหมายลักษณะแนวคิดนี้จะเกิดจาก ความรู้สึกผิดชอบของมนุษย์ ที่เกิดจากภาวะในใจที่จะไม่อยากให้ใครกดขี่ข่มเหงและก็คิดว่าตัวเองก็ ไม่ควรจะไปกดขี่ข่มเหงคนอื่นเช่นกัน 2. กฎหมายเกิดขึ้น โดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองเป็นผู้กำหนดให้มีขึ้นลักษณะแนวคิดนี้จะเป็นการ บัญญัติให้มีขึ้นตามความต้องการของสังคมที่จะมีเหตุผลหลายประการนำมาบัญญัติเป็นกฎหมาย และผู้ที่จะสามารถออกกฎหมายได้จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมนั้น ๆ ที่เราเรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์ จากแนวคิดดังกล่าว กฎหมายที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองค่อนข้างจะมีอิทธิพลมากกว่า แนวคิดแรก เพราะเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจน และสามารถบังคับได้แน่นอน สร้างประสิทธิภาพได้ดี ที่สุด นอกจากแนวคิด 2 แนวที่วางหลักไว้อย่างเป็นสากลแล้ว ยังมีผู้ที่ได้พยายามให้ ความหมายทางด้าน ทฤษฎีกฎหมายหลายท่าน เช่น 1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระองค์ได้รับสมญาว่าพระบิดาแห่ง กฎหมายไทย ได้ทรงอธิบายไว้ว่า กฎหมายคือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎร ทั้งหลาย เมื่อไม่ทำแล้วตามธรรมดาต้องรับโทษ 2. ศาสตราจารย์หลวงจำรูญ เนติศาสตร์ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วย การปฏิบัติทั้งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือ ปฏิบัติตาม" 3. ศาสตราจารย์ เอกูต์ ชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้าม ซึ่งมนุษย์ ต้องเคารพในความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หรือหมู่มนุษย์มีลักษณะ ทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏิบัติตาม"
เรื่องที่ 1.3 ความสำคัญของกฎหมาย
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง
เรื่องที่ 1.4 ประโยชน์ของกฎหมาย
ประโยชน์ของกฎหมายอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ข้อ ทั้งสามารถนำเอากฎหมายมาแยกแยะ ประโยชน์ดังนี้ 1. สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้ 2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบติต่อสังคม 3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม 4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ ประชาชน 5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: